ไทยยิ้มแห้ง สหรัฐบริจาควัคซีน J&J ให้ลาว 1 ล้าน 8 พันโดส

ไทยยิ้มแห้ง สหรัฐบริจาควัคซีน J&J ให้ลาว 1 ล้าน 8 พันโดส

ไทยยิ้มแห้ง สหรัฐบริจาควัคซีน Johnson and johnson J&J ให้ลาว 1 ล้าน 8 พันโดส พร้อมสนับสนุนให้ลาวฉีดวัคซีนครอบคลุม 50% ของประชากรภายในสิ้นปี วันนี้ 13 ก.ค. สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำกรุง เวียงจันทร์ เผยผ่านเฟซบุ๊ก U.S. Embassy Vientiane ทั้งฉบับภาษาลาวและภาษาอังกฤษว่า จะบริจาควัคซีนโควิด Johnson and johnson (จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน) ให้ลาว 1,008,000 โดส

ทั้งนี้วัคซีนของ Johnson and johnson 

เป็นวัคซีนโควิดชนิดฉีดเข็มดJohnson and johnson 1,008,000 คน โดยวัคซีนของ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน จะขนส่งถึง สปป.ลาว วันที่ 15 ก.ค. 2564  “สหรัฐฯ ภาคภูมิใจที่จะสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลลาวในการฉีดวัคซีน 50% ของประชากรทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ขอแสดงความยินดี” สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา  ระบุ

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ออกมาเปิดเผยว่าไม่แนะนำให้ ฉีดวัคซีนโควิดแบบผสม เนื่องจากผลทดลองยังไม่เพียงพอและอาจเกิดความยุ่งเหยิงได้ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า โซมญา สวามินาธาน หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกมาเตือนถึงแนวคิดการฉีดวัคซีนโควิดแบบผสม เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้เพียงพอ

นาง สวามินาธาน แสดงความกังวลว่าจะเกิคดวามวุ่นวายขึ้น หากประชาชนสามารถตัดสินใจเองได้ว่าตนจะได้เข้ารับวัคซีนจากบริษัทใดและเมื่อไหร่ รวมถึงโอกาสที่จะเลือกว่าจะฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 จากยี่ห้อใด

นอกจากนี้ในการแถลงครั้งนี้ หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์องค์การอนามัยโลก ได้กล่าวถึงผลทดลองจากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดที่พบว่าภูมิต้านทานของประชาชนที่รับวัคซีนแอสตราเซเนกาและตามด้วยไฟเซอร์เพิ่มขึ้นสูง

ก่อนหน้านี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรองนายกรัฐมนตรีที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการฉีดวัคซีนสลับชนิด โดยเข็มแรกเป็นซิโนแวค และเข็ม 2 เป็นแอสตราเซนเนกา ระยะเวลาห่างกัน 3-4 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์

ผู้ผลิตวัคซีน ไฟเซอร์ เปิดเผยว่าขณะนี้ทางบริษัทกำลังยื่นเรื่องกับทางการสหรัฐฯ เพื่อขอฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มสามให้กับประชาชนเพื่อรับมือ โควิดเดลต้า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม สำนักข่าว ชาแนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า ผู้ผลิตวัคซีน ไฟเซอร์ เตรียมยื่นเรื่องกับทางการสหรัฐฯเพื่อขอฉีดวัคซีนกระตุ้นในการต่อสู้กับโควิดเดลต้า หรือ โควิดเชื้อสายอินเดีย หลังจากที่มีหลักฐานชี้ว่าโควิดชนิดนี้แพร่เชื้อได้เร็วกว่าโควิดทั่วไป และ เสี่ยงที่ประชาชนจะติดเชื้อซ้ำ

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการอาหารและยา (FDA) และ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ได้ออกประกาศร่วมกันว่าในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่ประชาชนที่ได้รับวัคซีนครบสองโดสแล้วจำเป็นต้องรับวัคซีนโดสกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ทาง FDA และ CDC พร้อมที่จะฉีดวัคซีนกระตุ้นหากจำเป็น

ด้านนาย มิคาเอล โดลสเตน หัวหน้าเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ของไฟเซอร์เปิดเผยว่า ไฟเซอร์สามารถป้องกันโควิดเดลต้าได้ แต่ผ่านไปหกเดือน ภูมิต้านทานจะลดลงอย่างที่หลายฝ่ายได้คาดเอาไว้ ทั้งนี้วัคซีนยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยหนักถึงร้อยละ 95 แม้ภูมิต้านทานจะลดลง

งานวิจัยชิลี เผย ซิโนแวค ประสิทธิภาพน้อยกว่า ไฟเซอร์

งานวิจัยที่จัดทำขึ้นในประเทศ ชิลี เปิดเผยว่า ซิโนแวค หรือ วัคซีนประสิทธิภาพประเภทเชื้อตายมีประสิทธิภาพน้อยกว่า ไฟเซอร์ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 64 สำนักข่าว บลูมเบิร์ก รายงานผลวิจัยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนประเภทเชื้อตายและวัคซีนชนิด mRNA ในการใช้ประชาชนชาวชิลี 10 ล้านคนในการรับมือกับ ระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 1 พฤษภาคม 2564

โดยผลการทดลองพบว่า วัคซีนของซิโนแวค มีประสิทธิภาพ 66% ในการป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ในขณะที่วัคซีนของ ไฟเซอร์-ไบโอเอนเทคมีประสิทธิภาพถึง 93% ขณะเดียวกันวัคซีนจากทั้งสองค่ายสามารถป้องกันอาการป่วยที่รุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ โดยซิโนแวค ซึ่งฉีดให้กับชาวชิลีไปแล้วกว่า 10 ล้านคน มีประสิทธิภาพน้อยกว่าไฟเซอร์เล็กน้อย

ซึ่งในช่วงเวลาที่เริ่มทำการศึกษานั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ โควิดสายพันธุ์อัลฟา ซึ่งพบครั้งแรกในอังกฤษ และสายพันธุ์แกมมา ซึ่งพบครั้งแรกในบราซิล กำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในชิลี และนับเป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนสองชนิดในสถานการณ์เดียวกันเป็นครั้งแรกของโลก

นอกจากนี้คณะผู้วิจัยไม่สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพแยกรายสายพันธุ์ได้ และไม่มีข้อมูลสำหรับสายพันธุ์กลายพันธุ์อื่น เช่น เดลตา หรือ เชื้อสายอินเดียที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักทั่วโลก

ขณะนี้ประเทศชิลีมียอดผู้ป่วยสะสมมากกว่า 1.5 ล้านราย และหากอ้างอิงจากข้อมูลจนถึงวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขชิลีได้ฉีดวัคซีนซิโนแวคให้ประชาชนไปแล้วเกือบ 14 ล้านโดส โดยมีประชาชน 6.36 ล้านคนได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ขณะที่มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่ประชาชนแล้ว 2.4 ล้านโดส โดยประชากรวัย 16 ปีขึ้นไปมีสิทธิเข้ารับวัคซีนได้

เครดิต : รีวิวซีรี่ย์เกาหลี | ลายสัก | รีวิวร้านอาหาร | โทรศัพท์มือถือ ราคาถูก | เรื่องย่อหนัง